การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์เป็นหนึ่งในปัจจัยที่กำหนดตารางชีวิตของมนุษย์ ตั้งแต่ลืมตาตื่นจนกระทั่งเข้านอนเพื่อหลับพักผ่อนก่อนเริ่มวันใหม่แล้วถ้าหากต้องดำรงชีวิตอยู่กับดวงอาทิตย์ที่ไม่เคยลับขอบฟ้าเลยล่ะ จะทำอย่างไร?
สำหรับผู้คนที่อาศัยอยู่ในกลุ่มประเทศเหนือเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล (หนึ่งในห้าของเส้นละติจูดหลัก) ไม่ว่าจะเป็นรัฐอลาสกา ประเทศสหรัฐ หมู่เกาะกรีนแลนด์ ประเทศเดนมาร์ก รวมถึงประเทศแคนาดา ไอซ์แลนด์ สวีเดน ฟินแลนด์ และนอร์เวย์ต่างต้องเคยผ่านประสบการณ์ที่ดวงอาทิตย์อยู่บนท้อง
ฟ้าวันละ 24 ชั่วโมงในช่วงฤดูร้อน ที่เรียกว่า ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์เที่ยงคืน
ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์เที่ยงคืนเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการที่โลกมีทรงกลม และแกนโลกเอียงทำมุมประมาณ 23 องศากับดวงอาทิตย์ เมื่อโลกหมุนรอบตัวเอง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ในเวลาเดียวกัน โลกจะเอียงแกนสลับขั้วโลกเหนือและใต้เข้าหาดวงอาทิตย์ ซึ่งในแต่ละรอบจะใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดฤดูต่างๆ
โดยขณะที่โลกหันขั้วโลกหนึ่งเข้าหาดวงอาทิตย์ฤดูในประเทศแถบขั้วโลกนั้นจะเป็นฤดูร้อน กล่าวคือเมื่อโลกเอียงขั้วเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์ประเทศแถบขั้วโลกเหนือจะได้รับแสงสว่างและความร้อนจากดวงอาทิตย์อย่างเต็มที่ ส่งผลให้กลุ่มประเทศเหนือเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล (ประมาณเส้นละติจูดที่ 66 องศาเหนือ) ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เข้าสู่ฤดูร้อนที่มีแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ยาวนานถึง 24 ชม. และปรากฏการณ์นี้จะยาวนานติดต่อกันเป็นเวลานับเดือน ซึ่งระยะเวลาที่ดวงอาทิตย์ส่องสว่างยาวนาน 24 ชม.นี้ ขึ้นอยู่กับระยะห่างจากขั้วโลกเป็นสำคัญ
นั่นคือ ยิ่งใกล้ขั้วโลกมากเท่าไร ระยะเวลาของปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์เที่ยงคืนก็จะยิ่งยาวนานขึ้นจากสัปดาห์เป็นหลายๆ เดือน
ทั้งนี้ ผู้ที่เคยสัมผัสกับความอัศจรรย์ของปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์เที่ยงคืนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าความสวยงามของท้องฟ้า และบรรยากาศโดยรอบ ไม่ว่าจะเป็นสีของท้องฟ้า ณ ขณะนั้น หรือเงาของร่มไม้ที่ทอดยาวลงบนผืนดิน ช่างงดงามเกินกว่าจะกลั่นกรองออกมาเป็นคำพูด หากใครได้เคยนั่งชมดวงอาทิตย์เที่ยงคืน คงจะได้ประจักษ์ต่อสายตาว่าดวงอาทิตย์นั้นจะค่อยๆ เคลื่อนตัวลงต่ำในช่วงเวลาใกล้เที่ยงคืน แต่ทว่าไม่ลับเส้นขอบฟ้า จนในที่สุดก็ลอยขึ้นตระหง่านบนท้องฟ้าอีกครั้งในเวลาไม่ถึงหนึ่งชั่วโมงในช่วงรอยต่อของวัน
การที่ดวงอาทิตย์ไม่เคยหลับใหลในช่วงฤดูร้อนนั้นส่งผลกระทบต่อผู้คนที่อาศัยอยู่ในกลุ่มประเทศเหนือเส้นอาร์กติกเซอร์เคิลอย่างมาก เพราะจะมีปัญหานอนไม่หลับในเวลากลางคืน เนื่องจากมีแสงของดวงอาทิตย์สาดส่องอยู่ตลอดเวลา
นอกจากนี้ กลุ่มคนที่นับถือศาสนาอิสลามซึ่งอาศัยอยู่ในกลุ่มประเทศดังกล่าว ต้องเปลี่ยนมาอ้างอิงเวลาประกอบพิธีละหมาด หรือการบูชาสักการะพระอัลเลาะห์จากนาฬิกาแทน ซึ่งแตกต่างจากคำสอนของศาสนาอิสลามที่ให้อ้างอิงการประกอบพิธีละหมาดวันละ 5 ครั้งจากตำแหน่งของดวงอาทิตย์ และถ้าหากเทศกาลรอมฎอน หรือการถือศีลอดของชาวมุสลิม เกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อนของปีนั้นๆ การงดเครื่องดื่มและอาหารจากการอ้างอิงเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนดวงอาทิตย์ลาลับฟ้า ก็คงจะทำได้อย่างยากนัก
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์เที่ยงคืนจะส่งผลกระทบเชิงลบบางประการต่อมนุษย์ แต่ความสวยงามของแสงอาทิตย์ที่พาดผ่านสาดส่องลงบนผืนดินในยามค่ำคืนก็ทำให้นักท่องเที่ยวต้องหาโอกาสไปชมสักครั้งหนึ่งในชีวิต โดยประเทศที่เหมาะจะไปชมดวงอาทิตย์เที่ยงคืนมากที่สุดคือ ประเทศนอร์เวย์ ถึงขั้นได้รับการขนานนามว่าเป็นดินแดนแห่งอาทิตย์เที่ยงคืน
สำหรับเมืองที่ได้รับความนิยมในการชื่นชมปรากฏการณ์ทางธรรมชาติครั้งนี้ คือ เมืองทรุมเซอทางตอนเหนือของประเทศนอร์เวย์ ซึ่งจะมีปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์เที่ยงคืนให้ได้ชมกันช่วงวันที่ 16 พ.ค.-27 ก.ค. และอีกเมืองหนึ่ง ได้แก่ เมืองสฟาลบาร์ ซึ่งเป็นหมู่เกาะกลางมหาสมุทรอาร์กติก ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของแผ่นดินใหญ่ประเทศนอร์เวย์โดยจะเกิดปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์เที่ยงคืนอยู่ช่วงวันที่ 19 เม.ย.-23 ส.ค.
ขณะเดียวกัน อีกหนึ่งสถานที่ที่นักท่องเที่ยวนิยมไปดื่มด่ำกับดวงอาทิตย์ซึ่งส่องสว่างตลอด24 ชม.ได้แก่ เมืองกิรูนา ทางตอนเหนือของประเทศสวีเดนซึ่งช่วงเวลาที่เหมาะสม ได้แก่ ปลายเดือน พ.ค. จนถึงกลางเดือน ก.ค.
คนไทยเรานั้นจะว่าโชคดีที่ชีวิตประจำวันตั้งแต่ตื่นเช้าจนเข้านอน มีดวงตะวันเป็นเพื่อนที่ดีเสมอมาหรือจะว่าโชคร้ายตรงที่ถ้าหากอยากจะสัมผัสกับความสวยงามน่าอัศจรรย์ของดวงอาทิตย์ยามเที่ยงคืน ก็จะต้องเดินทางข้ามทวีปไปชมความงามกันเลยทีเดียว นี่คงจะเป็นตัวอย่างที่ดีของสุภาษิตโบราณที่ว่า "ได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง
บริษัท จี.แทรเวล คอร์ปอเรชั่น จำกัด
G TRAVEL CORPORATION.,LTD
G TRAVEL CORPORATION.,LTD
14th FLOOR, MANOROM BLDG.,
3354/44 RAMA IV ROAD,
KLONGTON, KLONGTOEY, BANGKOK 10110 THAILAND
AirLines Ticket Booking & Reservation
CALL : 02-671-6580- 3
E-mail: Gticket@cscoms.com
source: http://www.nstda.or.th/news/18502-sun
http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2008/12/X7312607/X7312607.html
http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2008/12/X7312607/X7312607-5.gif
http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2008/12/X7312607/X7312607-8.jpg
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น