ชื่อของแชงกรีล่า
(Shangril-la)
ปรากฏครั้งแรกในหนังสือของ
James
Hilton ในปี 1933 เรื่อง 'Lost Horizon' หรือ 'ลับฟ้าปลายฝัน' ในฉบับภาษาไทย
พูดถึงสถานที่แห่งหนึ่งที่หลบหลีกซ้อนเร้นจากภายนอก ไม่ปรากฏในแผนที่
เป็นสถานที่ลึกลับที่แม้นผู้หลงเข้าไปจะพบกับความมหัศจรรย์นานัปการด้วยสถานที่นี้คือดินแดนแห่งสันติสุข
ผู้คนที่มีอายุขัยยืนยาวจนเกือบเป็นอมตะ และดำรงตนแห่งสมณะเพศตามความเชื่อแบบธิเบต
James Hilton |
แล้วแท้จริงอาณาจักรแชงกรีล่านี้ปรากฏในแห่งหนใดนอกเหนือจากในฉบับนิยาย
หลากหลายความเชื่อปรากฏมาจากหลายแหล่งข้อมูล บ้างก็ว่ามาจากการที่ Hilton ผู้แต่งหนังสือเคยไปเยี่ยมเยือนพื้นที่แถบหุบเขาฮุนซ่าในปากีสถานและนำข้อมูลเหล่านี้มาแต่งเป็นนิยาย
บ้างก็ว่าแชงกรีล่า(Shangril-la) มีอยู่จริง
โดยแผลงมาจากดินแดนซัมบาลา (Shambala) ตามความเชื่อของธิเบตที่ตามตำนานเคยมีอยู่จริงตั้งอยู่ในแถบ
Inner
Asia มาแต่โบราณ จนคำว่าซัมบาลาค่อยๆเปลี่ยนไปหมายถึง
ดินแดนที่บริสุทธิ์ในระดับจิตวิญญาณมากกว่าการมีตัวตนจริงของดินแดน
ผนวกจนเป็นความเชื่อของพุทธแบบธิเบต
เป็นความเชื่อของการเข้าถึงดินแดนแห่งความสงบสุขและเต็มไปด้วยความสุข เราอาจหมายถึงที่เหล่านี้ว่าเป็น
Himalayan
Utopia หรือ Buddhist Pure Land ก็ได้
ในยุคช่้วงต้นศตวรรษที่ 20 ช่วงที่
เจมส์ ฮิลตัน (James Hilton) เขียนหนังสือ Lost Horizon ในพื้นที่อีกแห่งหนึ่งในเมืองลี่เจียงของจีน
นายโจเซปป์ ล๊อค (Joseph Rock) ชาวตะวันตกเชื้อสายอเมริกันออสเตรียน
เป็นชาวตะวันตกยุคแรกที่เข้าไปสำรวจ วิจัยพื้นที่ในแถบเสฉวน-ยูนนาน
โดยหน้าที่แล้วเขาต้องออกไปสำรวจปีนเขาเพื่อทำงานให้กับนิตยสาร National
Geographic ในสมัยนั้น เขาเป็นผู้พิชิตสามยอดเขาศักดิ์สิทธิ์
เซียนหน๋ายหรือ (Shenrezig) , หยั๋งเหมยหย๋ง
(Jambeyang)
and เซียนะเดาจื๋อ (Chanadorje)
ในหนังสือ Lost
Horizon ชื่อของ 'หุบเขาพระจันทร์สีน้ำเงิน' ถูกนำมาเรียกบ่อยครั้งจนเมื่อครั้งใดที่ตัวละครหลักในหนังสือปรากฏตัวออกจากอาคารที่พักทุกครั้งแล้วพวกเขาต้องได้เห็น
ภูเขาหิมะสีขาวทรงปิระมิด
ที่ตั้งโดดเด่นอยู่ข้างดินแดนแชงกรีล่าจนเหมือนเป็นตัวละครแห่งแทพเจ้าตัวตนหนึ่งเลยทีเดียว
ที่ปัจจุบันตั้งอยู่ที่หย่าติงหรือ Yading Nature Reserve เขาเป็นผู้แรกที่ได้ถ่ายภาพยอกเขาสีขาวทรงปิรามิดออกมาให้ชาวจีนและชาวโลกได้เห็น และนั่นมีที่มาว่าที่นี่แหละคือแรงบันดาลใจของ แชงรีล่า หรือ หุบเขาพระจันทร์สีน้ำเงินทรงปิรามิด ที่ James Hilton เขียนหลังจากได้เห็นภาพผลงานภาพถ่ายของ Joseph Rock ที่ตีพิมพ์ออกมา และหยิบยืมคำ Shambala ที่หมายถึงสถานที่อันสงบสุขทางจิตวิญญาณของธิเบตมาผันเป็นชื่อ "Shangri-la" และตำนานของแชงกรีล่าก็ได้เกิดขึ้น ณ ที่ตรงนี้
ตามนิยายแล้วแชงกรีล่าตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเทือกเขาคุนหลุน (崑崙山) และเนื่องจากความนิยมของนิยายเล่มนี้ ทำให้ชื่อของแชงกรีล่าโด่งดัง ทางการจีนที่เข้าใจถึงวิถีแห่งการตลาดจึงไม่รอช้าที่จะนำชื่อแชงกรีล่ามาใช้ประโยชน์ในการโปรโมทเมืองยุทธศาสตร์ในพื้นที่ตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลยูนนาน โดยเปลี่ยนชื่อเมือง จงเตี้ยน (Zhongdian) เป็นแชงกรีล่าในปี 2001 ซะเลย
ตามนิยายแล้วแชงกรีล่าตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเทือกเขาคุนหลุน (崑崙山) และเนื่องจากความนิยมของนิยายเล่มนี้ ทำให้ชื่อของแชงกรีล่าโด่งดัง ทางการจีนที่เข้าใจถึงวิถีแห่งการตลาดจึงไม่รอช้าที่จะนำชื่อแชงกรีล่ามาใช้ประโยชน์ในการโปรโมทเมืองยุทธศาสตร์ในพื้นที่ตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลยูนนาน โดยเปลี่ยนชื่อเมือง จงเตี้ยน (Zhongdian) เป็นแชงกรีล่าในปี 2001 ซะเลย
ดังนั้นแล้ว
นักท่องเที่ยวทั่วทุกหนแห่งจึงไม่รอช้าที่อยากจะเข้ามาสัมผัสดินแดงแชงกรีล่าในตำนาน
ทุกๆหน้าโฆษณาโปรแกรมทัวร์ในหนังสือพิมพ์จึงทำการ โปรโมทโปรแกรมทัวร์โดยใช้คำว่า
"แชงกรีล่า" กันอย่างตรงไปตรงมาและถึงพริกถึงขิง
ตามเป้าหมายวิสัยทัศน์ของทางการจีน
สำหรับคนไทยแล้วโปรแกรมทัวร์ส่วนใหญ่รวมถึงผู้ที่ Backpack ไปเองจึงมักเริ่มต้นที่เมืองคุนหมิง
(Kunming)
ในมณฑลยูนนาน
ลัดเลาะไปตามทิศตะวันตกเฉียงเหนือเพื่อเยี่ยมเยียนเมืองต้าลี่ (Dali) จากนั้นจึงไปเมืองลี่เจียง
(Lijiang)
แวะหุบเขาเสือกระโจน
และไปลงเอยที่เมืองจงเตี้ยน (Zhongdian) หรือที่เปลี่ยนเป็นเมืองแชงกรีล่า (Shangri-la)
ตรงนี้นี่เอง
เนื้อหาเพิ่มเติม
https://en.wikipedia.org/wiki/Shambhala
source:
http://www.travelchinayunnan.com/city/deqen/images/guihuasi_01.jpg http://imgc.allpostersimages.com/images/P-473-488-90/82/8224/4GTA300Z/posters/feng-wei-photography-jambeyang-yading-nature-reserve-sichuan-china.jpg
https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Zhongdian-sumtseling-gompa-c02.jpg
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น