วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2558

วิธีการทำหนังสือเดินทางล่วงหน้า

 การลงทะเบียนขอรับบริการหนังสือเดินทางล่วงหน้า คืออะไร 
การลงทะเบียนขอรับบริการหนังสือเดินทางล่วงหน้า คือบริการเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่ต้องการทำหนังสือเดินทางซึ่งเป็นบริการออนไลน์ 24 ชั่วโมงผ่านอินเตอร์เน็ตโดยมีบริการดังนี้ 
1.แสดงสถิติการทำหนังสือเดินทางย้อนหลัง 5 วัน เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกวันที่จะมาใช้บริการ
2.แสดงจำนวนคิว ณ เวลาปัจจุบันของแต่ละสาขาและประมาณเวลาที่จะได้รับบริการทำหนังสือเดินทาง
3.แสดงที่ตั้งสำนักงานหนังสือเดินทาง เส้นทาง และเวลาในการเดินทางไปยังสำนักงานหนังสือเดินทาง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
4.สามารถจองคิวและลงทะเบียนทำหนังสือเดินทางได้ล่วงหน้า และสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้จนถึง 23:00 น. ของวันก่อนวันขอรับบริการหนังสือเดินทาง
5.สามารถกำหนดวิธีการรับเล่มหนังสือเดินทางได้ด้วยตัวเอง
6.สามารถตรวจสอบสถานะของหนังสือเดินทางที่ได้ยื่นขอไว้ได้ทุกสำนักงานฯ



วิธีการลงทะเบียนยื่นขอหนังสือเดินทางล่วงหน้า   
เงื่อนไขการลงทะเบียนล่วงหน้า
การลงทะเบียนล่วงหน้าใช้สำหรับการยื่นคำร้องขอ**หนังสือเดินทางธรรมดา**เท่านั้น!!!!!
1.สมัครสมาชิก 1 บัญชี ต่อ 1 ท่าน ต่อ 1 รายการจอง
2.สามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ 1 วันทำการ (ไม่นับวันที่ทำรายการ วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) และทำรายการล่วงหน้าได้ไม่เกิน 5 วันทำการ
3.ท่านต้องมารายงานตัวและแสดง QR Code ต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ท่านลงทะเบียนขอรับบริการไว้อย่างน้อย 30 นาที ก่อนเวลาขอรับบริการ มิฉะนั้นการลงทะเบียนของท่านจะถูกยกเลิก
4.กรณีที่การลงทะเบียนถูกยกเลิกตามเงื่อนไขข้อที่ 3 ท่านจะไม่สามารถใช้บริการลงทะเบียนล่วงหน้าได้อีกภายใน 30 วัน
5.ข้อมูลที่กรอกต้องเป็นข้อมูลปัจจุบันของตนเองและเป็นข้อมูลจริงเท่านั้น
6.ท่านต้องเตรียมเอกสาร หลักฐานให้ครบถ้วนตามที่กำหนด กรณีที่เอกสาร หลักฐานไม่ครบถ้วน ทางกองหนังสือเดินทางขอสงวนสิทธิในการปฏิเสธการยื่นคำร้องหนังสือเดินทางของท่าน
7. เงื่อนไขในการออกหนังสือเดินทางเป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2)
สามารถลงทะเบียนได้ที่ https://www.facebook.com/passport.in.th/


Source: https://www.passport.in.th/
credit:https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/e/ed/Thailand_ePassport.jpg

สถานที่ให้บริการหนังสือเดินทาง



เมื่อคราวที่แล้วเสนอเรื่องการทำหนังสือเดินทาง
ขอเสนอสถานที่ให้บริการหนังสือเดินทาง ในประเทศไทยค่ซึ่งมีสถานที่ทั้งในกรุงเทพ และ ต่างจังหวัดตามนี้ค่ะ


กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ    
ที่อยู่ 123 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210  
โทรศัพท์ 02 203 5000 กด 1 (เมื่อเข้าสู่ระบบกรมการกงสุล กด 5 เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่)
มือถือ 093-010-5248
สำนักงานหนังสือเดินทาง ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา   
รับทำเฉพาะหนังสือเดินทางราชการเท่านั้น
ที่อยู่ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา(อาคารบี ประตูฝั่งทิศตะวันออก)
ชั้น 7 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ 02 203 5000 ต่อ 49007,49009,49010,49017

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางนา- ศรีนครินทร์   
ที่อยู่ ศูนย์การค้าธัญญาพาร์ค บางนา -ศรีนครินทร์ ชั้น 2 โซนอี
โทรศัพท์ 02 136 3800  โทรสาร 02 136 3801  โทรศัพท์มือถือ 093-010-5246

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปิ่นเกล้า  
ที่อยู่ ชั้น 5 อาคารเทสโก้โลตัส สาขาปิ่นเกล้า
เลขที่ 3 ถนนบรมราชชนนี 11 แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กทม. 10700         
โทรศัพท์ 0-2433-0280-87 โทรสาร 0-2433-2554 มือถือ 093-010-5247

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว พัทยา   
ที่อยู่ ศูนย์การค้าพัทยาอเวนิว ชั้น 1 ถนนพัทยาสาย 2
เลขที่ 399/9 หมู่ 10 ถนนพัทยาสาย 2 ตำบลหนองปรือ
อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150
โทรศัพท์ 038-422438 โทรสาร 038-422437

สำนักงานหนังสือเดินทาง ศูนย์บริการการไปทำงานต่างประเทศ   
(รับทำหนังสือเดินทางเฉพาะผู้ที่มีใบส่งตัวจากกรมการจัดหางานเท่านั้น)
ที่อยู่ อาคารประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ดินแดง กทม. 10400
โทรศัพท์ 0-2245-9439 ,02 2451042  โทรสาร 0-2245-9438
 
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว เชียงราย  
ที่อยู่ อาคารองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หลังใหม่
ถนนศูนย์ราชการ ตำบลริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100
โทรศัพท์ 053-175375 โทรสาร 053-175374

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว เชียงใหม่   
ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ 50000
โทรศัพท์ 0-5389-1535-6  โทรสาร 0-5389-1534

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว พิษณุโลก
ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก ถนนเทพารักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
โทรศัพท์ 055-258-173, 055-258-155, 055-258-131, โทรสาร 055-258-117

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว นครสวรรค์   
ที่อยู่ ศูนย์บริการร่วมจังหวัดนครสวรรค์ ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ถนนพหลโยธิน อำเภอเมือง
จังหวัดนครสวรรค์ 60000
โทรศัพท์ 056-233-453, 056-233-454  โทรสาร 056-233-452

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว อุดรธานี    
ที่อยู่ศูนย์อเนกประสงค์ ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี(ตรงข้ามกับศาลหลักเมือง)
ถนนอธิบดี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000
โทร 042-212827, 042-212-318 โทรสาร 042-222-810
   
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ขอนแก่น   
ที่อยู่ หอประชุมอำเภอเมืองขอนแก่น ถนนศูนย์ราชการ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
โทรศัพท์ 0-4324-2707,0-4324-2655 โทรสาร 0-4324-3441

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว อุบลราชธานี  
ที่อยู่อาคารศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ชั้น 1 ด้านหลังผั่งทิศตะวันตก 
จังหวัดอุบลราชธานี 34000
โทรศัพท์ 045-344581-2  โทรสาร 045-433646
E-mail : passport_ubon@hotmail.com   
http://www.facebook.com/ubonpassport

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว นครราชสีมา  
ที่อยู่ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ถนนมหาดไทยอำเภอเมือง  จังหวัดนครราชสีมา 30000 
โทร 044-243-132, 044-243-124 โทรสาร 044-243-133

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จันทบุรี   
ที่อยู่ อาคารลานค้าชุมชน ถ.เลียบเนิน ต.วัดใหม่ อ.เมือง จ.จันทบุรี 22000 
โทรศัพท์ 039-301-706-9 โทรสาร 039-301-707

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว สุราษฎร์ธานี    
ที่อยู่ศาลาประชาคม ถนนหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
โทรศัพท์ 077-274940,077-274942-3  โทรสาร 077-274941

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ภูเก็ต  
ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ถนนนริศร อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000
โทรศัพท์ 076-222-080, 076-222-081, 076-222-083 โทรสาร 076-222-082

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว สงขลา    
ที่อยู่  ศูนย์ราชการจังหวัดสงขลา อำเภอเมือง จ.สงขลา 90000
โทรศัพท์ 074-326508-10  โทรสาร 074-326511
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ยะลา  
ที่อยู่ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.)
ถนนสุขยางค์ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000
โทรศัพท์ 073-274-526, 073-274-036, 073-274-037
โทรสาร 073-274-527
 
สำหรับขั้นตอนการทำหนังสือเดินทาง ท่านสามารถดูได้ตาม link ข้างล่างนี้ค่ะ 

 

credit:http://www.thaiaupairclub.com/images/1212301612/1212301742.jpg
http://www.bangkoklawyer.net/wp-content/uploads/2011/11/thai-immigration.png
http://movetrip.com/wp-content/uploads/2015/08/thai-passport-visa-countries-update-2015.jpg
http://image.free.in.th/z/ip/scan0002.jpg

Alcohol Prohibit Countries !!! เครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับประเทศที่ไม่อนุญาติ

 สิ่งที่ควรทราบก่อนการเดินทางไปต่างประเทศสำหรับนักดื่ม บางประเทศนั้นห้ามนำเข้าสุราและเครื่องดื่มจำพวกแอลกอฮอล์ และหากนำเข้า ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ อาจมีบทลงโทษทื่รุนแรงค่ะ ดังนั้นวันนี้ข้อเสนอไว้เป็นข้อมูลในการเตรียมตัวก่อนการเดินทางค่ะ

รายชื่อประเทศที่มีการห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ปัจจุบันการห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะถูกบังคับใช้ในประเทศมุสลิมส่วนใหญ่จำนวนมากและบางส่วนของอินเดีย

อัฟกานิสถาน
บังคลาเทศ (กฎหมายสำหรับชาวต่างชาติ)
บรูไน
อินเดีย 
เฉพาะใช้ในรัฐ รัฐคุชราต ,รัฐมณีปุระ ,รัฐนาคาแลนด์, และรัฐมิโซรัม ในปัจจุบัน อนุญาติ ถ้ามีใบอนุญาตในการซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์) และลักษทวีป** สำหรับ รัฐเกรละนั้นที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายเบียร์และไวน์เท่านั้น.ส่วนสุราให้จำหน่ายเฉพาะร้านของรัฐบาลเท่านั้นและบาร์.
**หมายเหตุ**
ลักษทวีป ชื่อเดิมคือ  หมู่เกาะลักกาดีฟ มินิคอย และอามินดีวิ เป็นดินแดนสหภาพแห่งหนึ่งของสาธารณรัฐอินเดีย และเป็นหมู่เกาะจำนวนหนึ่งในทะเลลักกาดีฟ อยู่ห่างจากชายฝั่งรัฐเกรละทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดียประมาณ 200-300 กิโลเมตร ถือเป็นเขตการปกครองสหภาพที่มีขนาดเล็กที่สุดในประเทศ ลักษทวีปเป็นหมู่เกาะแนวเดียวกันกับหมู่เกาะมัลดีฟส์และหมู่เกาะชากอส เนื่องจากการยกตัวของภูเขาใต้ทะเลในมหาสมุทรอินเดียและทะเลอาหรับ

อิหร่าน
ลิเบีย
คูเวต
มัลดีฟส์
มอริเตเนีย
ประเทศปากีสถาน
ซาอุดิอาราเบีย
ซูดาน
โซมาเลีย
รัฐชาร์จาห์ในสหรัฐอาหรับเอมิเรต
เยเมน

ในอดีต
สหรัฐอเมริกา –ระหว่างปี 1920-1933
แคนาดา - ระหว่างปี1916-1920
หมู่เกาะแฟโร – ระหว่างปี 1907-1992
ไอซ์แลนด์ ช่วงปี 1915-1935 เบียร์ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์มากกว่า 2.25% ไม่ได้รับอนุญาตจนถึงปี 1989
นอร์เวย์ -  ระหว่างปี 1916-1927
จักรวรรดิรัสเซียและสหภาพโซเวียต – ระหว่างปี 1914-1923
ฟินแลนด์ – ระหว่างปี 1919-1932
ฮังการี – ระหว่างปี 21 มีนาคม 1919 - 1 สิงหาคม 1919



List of countries with alcohol prohibition

The following countries have or had comprehensive prohibitions against alcohol.

Present : alcohol prohibition is enforced in many Muslim-majority countries and some parts of India.
Bangladesh (Legal for foreigners)
India –
(Prohibited in the states of GujaratManipur,[Nagaland, Mizoram(legalised recently,but one need permit card to buy alcohol) and the union territory of Lakshadweep. As for the state of Kerala, one is allowed only beer and wine. Liquor is still available through government liquor shops and within bars.)

Past
Canada - 1916-1920's
Faroe Islands - 1907-1992
Iceland - 1915-1935; beer with an alcohol content of 2.25% or more remained prohibited until 1989.
Norway - 1916-1927
Russian Empire and the Soviet Union - 1914-1923
Finland - 1919-1932
Hungary - 1919 March 21 - 1919 August 1 - During the short-lived "Tanácsköztársaság" or "Hungarian Soviet Republic", sale and consumption of alcohol was prohibited.

MORE DETAIL

Credit:
https://zakirnaikqa.files.wordpress.com/2014/05/535650_363101687136836_1942382389_n.jpg
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/6/68/Raid_at_elk_lake.jpg

JET LAG คืออะไร

หลายท่านคงประสบปัญหาเวลาเดินทางไปต่างประเทศ ที่ต้องนั่งเครื่องบินนานๆ มีอาการอ่อนเพลีย ปวดหัว ฯลฯ อาการดังกล่าวเรียกว่า อาการ JET LAG ซึ่งอาการดั่งกล่าวจะเกิดขึ้นหลังจากการเดินทางถึงปลายทาง  วันนี้จะมานำเสนอการป้องกัน วิธีลดอาการที่อาจจะเกิดและการแก้ไขค่ะ

อาการJet Lagเป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่เดินทางไปยังประเทศต่างๆที่ต้องใช้เวลานานๆหลายชั่วโมงบนเครื่องบิน บินข้ามทวีปเปลี่ยนเวลาตรงข้ามกับที่เคยอยู่ประจำ เช่น กลางวันเป็นกลางคืน ต้องบินผ่าน Time Zones (โซนเวลา) มากน้อยแตกต่างกัน

TIMEZONE และ International Date Line คืออะไร
โซนเวลา (Time Zones) 

โดยปกติโลกใบนี้ของเรามีการแบ่งโซนเวลาออกเป็น 24 โซนเวลา ซึ่งเท่ากับ 24 ชั่วโมง เวลาของแต่ละประเทศจะแตกต่างกันออกไป มีการเปรียบเทียบกันโดยมีเส้นสมมุติ ที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้และผ่านหอดูดาวของเมืองกรีนิช(Greenwich) ประเทศอังกฤษ เรียกว่าเส้น GMT หรือ Greenwich Mean Time ประเทศที่อยู่ด้านตะวันออกของเส้นนี้จะอยู่ในโซนเวลาต่างๆกันไปจากโซนเวลา +1 จนถึงโซนเวลา +12 เช่นประเทศไทยอยู่ในโซนเวลา หรือ Time Zone +7 หมายความว่าถ้าหากประเทศเยอรมันอยู่ในโซนเวลา + 1 และมีเวลา 13.00 น.ประเทศไทยอยู่ในโซนเวลา +7 (ต่างจากประเทศเยอรมัน 6 โซนเวลา) จะมีเวลาเท่ากับ 19.00 น. ในทางตรงข้าม ประเทศที่อยู่ด้านตะวันตกของเส้นนี้ จะอยู่ในโซนเวลาที่เป็นลบ (-) จากโซนเวลา -1 จนถึงโซนเวลา -12 ตัวอย่างเช่นประเทศไทยอยู่ในโซนเวลา +7 และเมืองนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา อยู่ในโซนเวลา -5 ดังนั้นเวลาจึงแตกต่างกันถึง 12 ชั่วโมง เช่นเมืองนิวยอร์คเวลา 13.00 น. ประเทศไทยก็จะเป็นเวลา 01.00 น. และเป็นคนละวันกันด้วย


International Date Line (เส้นแบ่งวัน) จากที่กล่าวไว้แล้วว่าโซนเวลาทางด้านตะวันออกของเส้น GMT จะมีจาก +1จนถึง +12ในทางตรงกันข้าม โซนเวลาทางด้านตะวันตกของเส้นGMTจะมีจาก -1 จนถึง -12 หากท่านผู้อ่านลองนึกถึงโลกของเราเป็นลูกโลกกลม โซนเวลา +12 และ -12 ก็จะไปอยู่คร่อมกัน เส้นรอยต่อนี้เองที่เราถือกันว่าเป็นเส้นแบ่งวัน หรือ International Date Line

ลักษณะอาการ JET LAG มีอะไรบ้าง

ผู้ที่มีอาการ Jet Lag มักเกิดจากการบินผ่านโซนเวลามากกว่า 3 โซนขึ้นไป นอกจากนี้ทิศทางของการเดินทางก็มีส่วนสำคัญ (บางท่านบินจากตะวันออกไปตะวันตก หรือตะวันตกไปตะวันออก บางท่านบินจากเหนือลงใต้หรือจากใต้ขึ้นเหนือ ) ที่ทำให้เกิดอาการ Jet Lag มากน้อยแตกต่างกัน
กลุ่มอาการ Jet Lag ประกอบไปด้วย อาการต่างๆ ดังนี้ คลื่นเหียน วิงเวียน ปวดศรีษะ อ่อนเปลี้ยเพลียแรง นอนไม่หลับ ง่วง เซื่องซึม สลบไสล หน้ามืด ตาลาย ท้องอืดแน่น เบื่ออาหาร จิตใจไม่แจ่มใส ความสามารถในการทำงานลดลง ซึ่งบางท่านอาจมีไม่ครบทุกอาการ หรืออาการมากน้อยแตกต่างกันออกไป




ซึ่งโดยปกติคนเรามีชีวิตอยู่ที่ใดนานๆร่างกายจะมีการทำงานที่คุ้นเคยกับเวลาของประเทศนั้นๆ เช่น ตื่น 6 โมงเช้า มีกิจกรรมตั้งแต่เช้าจรดเย็นและเข้านอนตอน 23.00 น. การทำงานของอวัยวะต่างๆเป็นไปตามจังหวะเวลา ณ ประเทศที่ตนเองอยู่จนเป็นความเคยชินหรือบางทีเรียกว่า Biological Rhythms บางคนเรียกว่า นาฬิกาชีวิต Biological Clock (Circadiam Rhythm) เมื่อมีการเดินทางข้ามโซนเวลามากกว่า 3 โซนขึ้นไปและหากมีการข้ามโซนเวลามากๆก็จะมีเวลาเปลี่ยนแปลงไปมาก กลางวันเป็นกลางคืน มีสิ่งกระตุ้นที่เป็นแสงสว่างแตกต่างกัน Biological Rhythmsในร่างกายของผู้ที่เดินทางปรับตามไม่ทันกับการที่ร่างกายของคนๆนั้นไปอยู่ในโซนเวลาใหม่ซึ่งมีสิ่งแวดล้อมต่างกันออกไป จนทำให้เกิดกลุ่มอาการดังที่กล่าวข้างต้น





เตรียมตัวก่อนการเดินทาง 

  1. ควรนอนหลับให้สนิทและให้นานเพียงพอก่อนการทำการบิน
  2. ปรับเวลาการเข้านอน-ตื่นนอน ให้ใกล้เคียงกับเวลาในประเทศที่เราจะไปอย่างน้อย 2-3 วันหากสามารถกระทำได้
  3. ควรออกกำลังกายในระหว่างการเดินทางด้วยเครื่องบิน
  4. ในวันแรกที่เดินทางมาถึงปลายทางควรจำกัดกิจกรรม (ควรวางแผนตั้งแต่ก่อนการเดินทางว่าในวันแรกที่ถึงต้องทำอะไรบ้าง)
  5. ดื่มน้ำมากๆในช่วงระหว่างและหลังจากการเดินทางด้วยเครื่องบิน
  6. พยายามปรับนาฬิกาชีวภาพโดยใช้แสงสว่างและมื้ออาหารช่วย
  7. การดูแลสุขภาพก่อนการเดินทางประมาณ  2-3  สัปดาห์  จะช่วยลดอาการอ่อนเพลียที่เกิดขึ้นจากการเดินทางได้
  8. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่  การดื่มแอลกอฮอล์และยานอนหลับก่อนและระหว่างการเดินทาง
  9.  พยายามมีการนอนหลับ และ การทานอาหารในแต่ละมื้อ ตามเวลาท้องถิ่น
  10. ควรเลือกการเดินทางที่ไปถึงจุดหมายปลายทางในเวลากลางคืน เพื่อถึงที่พักท่านจะได้หลับพักผ่อนทันที
  11. ก่อนการเดินทาง 1 วัน ให้ท่านออกกำลังกายให้มากขึ้น เพื่อจะทำให้หลับได้มากขึ้นเมื่ออยู่บนเครื่องบิน
  12. หากรู้สึกอ่อนล้าระหว่างการเดินทาง ท่านควรงีบหลับเพื่อลดอาการอ่อนเพลียได้

สำหรับท่านใดที่มีความกังวลเรื่องอาการ JET LAG สิ่งที่ดีที่สุดคือการเตรียมตัว และวางแผนการรับมือกับอาการที่จะเกิดขึ้น ซึ่งได้กล่าวไปแล้วในคำแนะนำเบื้องต้น สำหรับการเตรียมตัวไม่ว่าจะเป็นตารางการเดินทาง หรือ แม้แต่การนัดหมายล่วงหน้า คือสิ่งที่สำคัญ อย่าให้ความกังวลเรื่องการเดินทางของคุณทำให้พักผ่อนได้ไม่เต็มที่ เรื่องการเดินทาง วางแผนจองห้องพัก ให้เราเป็นผู้จัดการสิค่ะ

บริษัท จี.แทรเวล คอร์ปอเรชั่น จำกัด
G TRAVEL CORPORATION.,LTD

14th FLOOR, MANOROM BLDG.,
3354/44 RAMA IV ROAD,
KLONGTON, KLONGTOEY, BANGKOK 10110 THAILAND

AirLines Ticket Booking & Reservation
CALL : 02-671-6580- 3 

E-mail: Gticket@cscoms.com 

Picture source:
http://www.extremespearfishing-worldtravel.com/images/destinations/oceania/australia_new_south_wales/world-time-zone-australia-sydeney.gif
http://image.mcot.net/media/images/2012-10-24/1351050073__1_~2.JPG
http://i.stack.imgur.com/z2R3Q.png


วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ภาพยนตร์ต่างประเทศที่ถ่ายทำในประเทศไทย ช่วงปี 2000 part 2

ภาพยนตร์ต่างประเทศหลายเรื่องได้มาถ่ายทำในประเทศไทย ในช่วงปี 2000 นั้นมีมากรวบรวมภาพยนตร์จากHollywood และค่ายหนังเอเชียที่มาถ่ายทำในประเทศไทยดังนี้ค่ะ

The Beach (en) (2000)ถ่ายทำที่เกาะพีพี ภูเก็ต และอ่าวมาหยา กระบี่ ขณะถ่ายทำถูกประท้วงมากมายเกี่ยวกับการทำลายสิ่งแวดล้อม




In the Mood for Love (en) (2000) หนังรักโรแมนติคของหว่อง คาไว นำแสดงโดย จางมั่นอี้ และ เหลียงเฉาเหว่ย มีฉากหลังเป็นฮ่องกงในทศวรรษที่ 60 แต่ว่าถ่ายทำในกรุงเทพ


City of Ghosts (en) (2002) – ภาพยนตร์นำแสดงโดย แมทท์ ดิลลอน มีฉากหลังเป็นกัมพูชา และส่วนใหญ่จะถ่ายทำที่กัมพูชาด้วย แต่มีบางฉากที่ถ่ายทำในประเทศไทย โดยมีทีมงานหลายคนเป็นคนไทย
   
City of Ghosts 

(Belly of the Beast)
พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง (Belly of the Beast)
 Belly of the Beast (en) (2003) – สตีเว่น ซีกัล ต้องหาทางช่วย ลูกสาวที่โดนจับไป ร่วมแสดงโดยนักแสดงไทย พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง, ซาร่า มาลากุล เลน และชาคริต แย้มนาม





Two Brothers (en) (2004) เป็นเรื่องราวของเสือสองตัว ที่มีฉากถ่ายทำที่เมืองโบราณ สมุทรปราการ ซึ่งเสือได้นำมาจากสวนเสือศรีราชา ใกล้กับพัทยา

Alexandre (en) (2004)ถ่ายทำที่แม่กลอง สมุทรสงคราม ,อุบลราชธานี และ สระบุรี มีนักแสดงไทยอย่าง บิณฑ์ บันลือฤทธิ์ และ จรัล งามดี
Alexandre

Around the World in 80 Days (en) (2004) – เฉินหลง และ สตีฟ คูแกน ในภาพยนตร์ทำใหม่ ถ่ายทำในประเทศไทย ที่จังหวัดกระบี่ โดยเป็นเรื่องราวที่เกิดในชนบทของประเทศจีน

Bridget Jones: The Edge of Reason (en) (2004) ถ่ายทำในกรุงเทพและภูเก็ต รวมถึงซอยคาวบอย เป็นฉากที่หนังสือพิมพ์แท็บลอยด์รายงานว่าฮิวจ์ แกรนท์ นักท่องเที่ยวถูกจับเนื่องจากถูกเพื่อนแอบซ่อนยาเสพติดในของที่ระลึก
Bridget Jones: The Edge of Reason



















Fantastic Four (2005)
ฉากเมืองถูกทำลาย ถ่านทำในจังหวัดสุราษธานี
Fantastic Four


Shining Boy and Little Randy (Hoshi Ni Natta Shonen) (ja) (2005) - ภาพยนตร์ญี่ปุ่นเกี่ยวกับเด็กญี่ปุ่นที่มาเรียนเป็นควาญช้างในประเทศไทย ถ่ายทำที่ลำปาง และเชียงใหม่

Shining Boy and Little Randy

Star Wars: Episode III Revenge of the Sith (en) (2005) ฉาก KashyyykWookiee homeworld, ถ่ายทำที่จังหวัดกระบี่ โดยแซนตาฟิล์มอินเตอร์เนชันนอล

Star Wars: Episode III
Star Wars: Episode III
  
Star Wars: Episode III


Stealth (en) (2005) – เจมี่ ฟอกซ์เจสซิกา บีล และ จอช ลูคัส แสดงเป็นนักบินนาวิกโยธินอเมริกัน พักผ่อนที่ประเทศไทย ถ่ายทำที่เกาะ The Beach เกาะพีพี
Stealth

Rescue Dawn (en) (2006) – Werner Herzog เดินทางมายังประเทศไทยในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2005 เพื่อกำกับเรื่องจริงที่สร้างจากประวัติของนักบินที่ชื่อ Dieter Dengler และการหลบหนีออกจากค่ายพาว ในช่วงสงครามเวียดนาม นำแสดงโดย Christian Bale และ Steve Zahn

Rescue Dawn


















The Aftermath (en) (2006)หนังร่วมทุนของ HBO-BBC ที่เดินทางมาถ่ายทำที่ภูเก็ตในเดือนเมษายน-มิถุนายน เป็นมินิซีรีส์เกี่ยวกับสึนามิในปี 2004 และผลกระทบหลังเหตุการณ์นี้ที่ภูเก็ต นักแสดงคือ Tim Roth และ Toni Collette

Bangkok Dangerous



Time to Kill (en) (หรือมี

อีกชื่อว่า Big Hit in Bangkok) (2007) หนังทำใหม่ของ Bangkok Dangerous โดย the Pang Brothers, นำแสดงโดย Nicholas Cage และ Charlie Yeung 

Protégé (en) (2007) หนังฮ่องกง ถ่ายในประเทศไทย โดยจำลองให้เป็นสามเหลี่ยมทองคำ แหล่งผลิตฝิ่นรายใหญ่แห่งหนึ่งของโลก โดยมี นิรุตต์ ศิริจรรยา นักแสดงไทยร่วมแสดงด้วย
Protégé






Rambo IV



Rambo IV (en) (2007) – Sylvester Stallone เดินทางกลับมายังประเทศไทยเพื่อถ่ายทำภาค 4 ของ Rambo ภาพยนตร์เริ่มถ่ายทำในเดือนมกราคม 2007



The Hive (en) (2008) - ฝูงมดนรกกินคน ถ่ายทำที่ จ.กระบี่

The Storm Warriors (en) (2008) - ถ่ายทำในสตูดิโอ
Street Fighter: The Legend of Chun-Li is (2009) ภาคต่อของภาพยนตร์  Street Fighter 
The Prince and Me 4: The Elephant Adventure (2010) – 
ภาคต่อของ The Prince and Me 3: A Royal Honeymoon.

The Lady(2011) ภาพยนตร์อัตชีวประวัติการต่อสู้ของ ออง ซานซูจี  ถ่ายทำในประเทศไทย
ผลงานกำกับของ Luc Besson







The Hangover Part II (2011)
The Hangover Part II
The Hangover Part II















The Scorpion King 3: Battle for Redemption(2012)









Lost in Thailand ( 2012) 
ถ่ายทำในกรุงเทพและเชียงใหม่ ภาพยนตร์จากประเทศจีน.
Lost in Thailand 




The Impossible (2012) ถ่ายทำที่เขาหลัก จังหวัดพังงา ภาพยนตร์เกี่ยวกับเหตุการณ์คลื่นสืนามิ เข้าถล่มพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยในปี 2004

The Impossible


Only God Forgives (2013)- หญิง รฐา ร่วมแสดง
Only God Forgives 


The Railway Man







The Railway Man (2013จากเรื่องจริงของเชลยศึกในการสร้างทางรถไฟสายมรณะในประเทศไทย ถ่ายทำที่ จ.กาญจนบุรี






Lupin III( ルパン三世 Rupan Sansei) 2014 ภาพยนตร์ญี่ปุ่นที่นำมาจากการ์ตูนยอดนิยม มาเป็นภาพยนตร์ นักแสดงไทยสมทบ ได้แก่ นิรุตต์ ศิริจรรยา /หญิง รฐา/ โก๊ตี๋ อารามบอย 
สถานที่ถ่ายทำบางส่วน ที่มหาวิทยาลัย ย่านบางพลี สมุทรปราการ




Pernicious (2014) : ภาพยนตร์แนวสยองขวัญ ดูตัวอย่างแล้ว เหมือนหนังไทยและหนังต่างประเทศอีกหลายๆเรื่องรวมกันเลย 



Last Flight (2014) ถ่ายทำในสตูดิโอ แทบทั้งเรื่องเกิดเหตุการณ์ขึ้นบนเครื่องบิน(มีฉากโบกแท๊กซี่ ที่เห็นเป็นรถแท๊กซี่ไทย!!) 

No Escape (2015)
ถ่ายทำ ภาคเหนือของไทย เช่น จ.เชียงใหม่, สนามกีฬา 700 ปี







จะเห็นได้ว่าค่ายหนังหลายราย ใช้ประเทศไทย เป็นสถานที่ถ่ายทำ ไม่ว่าจะเป็นหนังรูปแบบไหน เมืองไทยยังมีสถานที่สวยงาม ที่เป็นเสน่ห์ให้ภาพยนตร์หลายๆเรื่อง นิยมมาถ่ายทำในประเทศไทยค่ะ


 credit:
http://www.impawards.com/2000/posters/beach.jpg
http://beachmovie.tripod.com/virginie.jpghttps://fandangogroovers.files.wordpress.com/2011/06/the-beach.jpghttp://www.filmosphere.com/wp-content/uploads/2009/03/in-the-mood-for-love-affiche.jpg https://www.movie-asia.com/wallpaper/d/14591-1/inthemoodforlove1.jpg   https://upload.wikimedia.org/wikipedia/en/thumb/5/5a/Cityofghostscard.jpg/220px-Cityofghostscard.jpghttp://seagalology.com/img/movies/bellyofthebeast.jpghttp://www.imfdb.org/images/thumb/9/9e/Belly_of_the_Beast-Taurus92-4.jpg/400px-Belly_of_the_Beast-Taurus92-4.jpghttp://www.impawards.com/2004/posters/alexander_ver6_xlg.jpghttp://i.jeded.com/i/bridget-jones-the-edge-of-reason.19654.jpghttp://asianwiki.com/images/b/bb/Shining_boy_little_randyposter.jpghttp://ia.media-imdb.com/images/M/MV5BMTc5NjExMTc0Nl5BMl5BanBnXkFtZTcwNDI0MzE2MQ@@._V1_SY285_CR53,0,214,285_AL_.jpghttp://img4.wikia.nocookie.net/__cb20130822174232/starwars/images/e/e7/EPIII_RotS_poster.pnghttp://img3.wikia.nocookie.net/__cb20130202022903/starwars/images/e/e8/Can-cell_kashyyyk.pnghttp://vignette2.wikia.nocookie.net/starwars/images/9/9e/WookieeCharge-ROTS.png/revision/latest?cb=20130210043922http://postto.me/id/stealth_movie_2005_josh_lucas_jessica_biel.jpghttps://upload.wikimedia.org/wikipedia/en/thumb/6/6d/Rescue_Dawn_poster.jpg/220px-Rescue_Dawn_poster.jpgThe Aftermath (en) (2006)http://vignette2.wikia.nocookie.net/theflophouse/images/d/df/Mpabangkokdangerousposterawesomeb.jpg/revision/latest?cb=20111108205451https://en.wikipedia.org/wiki/Prot%C3%A9g%C3%A9_(film)#/media/File:Protegeposter.jpghttp://www.freemovieposters.net/posters/rambo_iv_2008_4790_poster.jpghttps://upload.wikimedia.org/wikipedia/en/6/6e/Legend_of_chun_li.jpghttp://www.gstatic.com/tv/thumb/movieposters/8418274/p8418274_p_v7_aa.jpghttp://www.etonline.com/media/photo/2013/05/24015308/640_The_Hangover_Part_II_15.jpghttps://upload.wikimedia.org/wikipedia/en/6/65/Scorpion_King_3_DVD_Cover.jpghttp://www.gstatic.com/tv/thumb/dvdboxart/9748530/p9748530_d_v7_aa.jpghttp://1vzs2y1lx6fm2qdaaj2t2iq2uh.wpengine.netdna-cdn.com/wp-content/uploads/2013/01/the-impossible-movie-wallpapers-01.jpghttp://www.heyuguys.com/images/2013/06/Only-God-Forgives-Character-Poster-Ryan-Gosling.jpghttp://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTQtJXquQ3m4oDODIh0XrDmwgmw7Hs3rk1ZmZ1NAThLTwK8j-kAhttp://www.flickeringmyth.com/wp-content/uploads/2015/03/no-escape-poster-900x1333.jpghttps://upload.wikimedia.org/wikipedia/en/a/ab/The-lady-2011-poster-french.jpg